คุณเคยไหมที่ระวังในการขับขี่รถยนต์ และเมื่อทำการเหยียบเบรกเพื่อจะทำการชะลอหรือหยุดหรอ แต่กลับว่าการเหยียบ เบรคแข็ง เหยียบไม่ลง เวลามีการเหยียบเบรคแล้วเบรคไม่ค่อยอยู่ จึงจำเป็นต้องใช้แรงมากกว่าปกติในการเหยียบเบรคแต่ครั้ง อาการเหล่านี้บ่งบอกถึงว่าเบรครถยนต์ของคุณนั้นกำลังจะมีปัญหา หรือในกรณีบางท่านอาจจะ เบรคแข็งก่อนสตาร์ท ในบทความนี้จะเป็นแหล่งข้อมูลถึงสาเหตุและ วิธีแก้เบรคแข็ง อย่างครบถ้วนให้กับทุกท่านได้รับทราบ
1. เบรคแข็ง สาเหตุเกิดจากอะไร? ตรวจเช็คด้วยตัวเองง่ายๆ
อาการของเบรคแข็งส่วนใหญ่แล้ว มักจะพบเจอกับรถยนต์ที่มีการใช้งาน มามากกว่าแสนกิโลเมตร และมีการใช้งานเกี่ยวกับระบบเบรคมาค่อนข้างมาก ซึ่งอาจจะเกิดการเสื่อมสภาพ และรถบางคันก็ยังมีการแสดงอาการ เบรคแข็งก่อนสตาร์ท ไม่ว่าจะเป็นรถเก๋งขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ รวมไปถึงรถกระบะ
ส่วนใหญ่ปัญหาเบรคแข็ง สาเหตุหลักเกิดจากระบบสูญญากาศ ที่มีหน้าที่ช่วยเพื่อผ่อนแรงในการเหยียบเบรค รวมไปถึงหม้อลมเบรค และชิ้นส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องกับระบบเบรค ในหัวข้อถัดไปจะเป็นเนื้อหาความรู้ ที่จะส่งมอบให้กับทุกท่านที่ได้อ่าน สามารถนำไปตรวจเช็ค หรือหา วิธีแก้เบรคแข็ง ด้วยตัวของท่านเอง อาการของ เบรคแข็ง เหยียบไม่ลง อันตรายกว่าที่คุณคิด ฉะนั้นควรที่จะศึกษาและทำความเข้าใจรายละเอียด ละเอียดในการวิเคราะห์แต่ละชิ้นส่วนมีดังต่อไปนี้.
1.1 ปั๊มสุญญากาศหรือปั๊มพวงมาลัยเพาเวอร์มีการชำรุด
โดยปกติแล้วรถยนต์แต่ละคันนั้นจะมีหม้อลมเบรค ที่มีความแตกต่างกันไปตามแต่ละชนิดของรุ่นรถยนต์ และประเภทต่างๆนี้ก็สามารถจำแนกได้เป็นทั้งแบบกลไกหรือแบบระบบไฟฟ้า และยังมีรถยนต์ในบางครั้งบางประเภทนั้น จะมีหม้อลมเบรคแบบไฮดรอลิค โดยระบบกลไกจะใช้เป็นแหล่งดันจากไฮดรอลิค จากปั๊มพวงมาลัยเพาเวอร์แทนสูญญากาศของเครื่องยนต์
ถ้ารถยนต์ของคุณมีอาการ เบรคแข็ง สาเหตุ อาจจะเกิดเกี่ยวกับปั๊มสุญญากาศหรือตัวเพิ่มแรงดันเบรค ของระบบกลไกไฮดรอลิคมีปัญหา ซึ่งโดยรวมปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นก็จะเกิดจากปั๊มไฟฟ้าที่ทำงานผิดปกติรวมไปถึงระบบน้ำมันพวงมาลัยพาวเวอร์มีต่ำกว่าเกณฑ์ จึงทำให้เกิดอาการ เบรคแข็ง เหยียบไม่ลง เพราะตัวปั๊มสูญญากาศไม่สามารถสร้างแรงดันได้.
1.2 หม้อลมเบรคมีความเสียหาย
หม้อลมเบรคเป็นอีกหนึ่งส่วนสำคัญ ที่จะมีหน้าที่คอยรักษาแรงดันสุญญากาศ ถ้าหากในส่วนนี้เสียหายอาจจะส่งผลทำให้ไม่สามารถรักษาแรงดันได้ เพราะในกรณีทุกครั้งที่คุณเหยียบเบรกเพื่อที่จะหยุดรถหรือจะชะลอ ระบบของเบรคนั้นจำเป็นที่จะต้องใช้สุญญากาศเป็นตัวช่วยในการกระตุ้นทำงาน หากชิ้นส่วนหม้อลมเบรคมีความเสียหายจนไม่สามารถสร้างระบบสูญญากาศ ก็ไม่สามารถที่จะนำจ่ายแหล่งพลังงานให้กับกระบอกสูบได้.
1.3 ท่อสูญญากาศมีร่องรอยชำรุด
ระบบท่อสูญญากาศเป็นอีกหนึ่งกลไกของระบบเบรค ที่จะมีการเชื่อมต่อกับหม้อลมเบรคและเครื่องยนต์ โดยอากาศจะถูกดึงออกจากระบบเพื่อที่จะสร้างสูญญากาศ แต่ถ้าหากมีการเสื่อมสภาพหรือชำรุดไดส่วนของท่อสูญญากาศนั้น จะทำให้ไม่สามารถที่จะลำเลียงแรงดันสุญญากาศ ไปตามท่อสู่แป้นเบรคได้ในปริมาณที่เหมาะสม จึงทำให้เกิด เบรคแข็ง สาเหตุหลักๆที่พบเจอส่วนมากก็จะเป็นเกี่ยวกับท่อลำเลียงสูญญากาศชำรุด จึงทำให้มีอาการเบรคแข็ง เหยียบไม่ลงเพราะแรงดันสุญญากาศไม่เพียงพอ ซึ่งสามารถแก้ไขได้ง่ายด้วยการให้ช่างเปลี่ยนท่อสูญญากาศอันใหม่
1.4 อุปกรณ์ยึดติดกับก้ามปูเบรค
อาการ เบรคแข็ง สาเหตุ เบื้องต้นที่สามารถตรวจสอบได้ง่าย เพียงแค่ขึ้นไปนั่งบนตัวรถและเหยียบเบรค จะพบว่า เบรคแข็งก่อนสตาร์ท ซึ่งสาเหตุเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ยึดคาลิปเปอร์เบรค หรือก้ามปูเบรค เป็นชิ้นส่วนอะไหล่ส่วนหนึ่งของกลไกเบรค ที่มีความสำคัญที่สุดในระบบเบรครถยนต์ ที่จะคอยทำหน้าที่ผลักผ้าเบรครถยนต์ และจานเบรคเพื่อที่จะทำให้รถของคุณนั้นเกิดการชะลอหรือหยุดรถ ถ้าเกิดชิ้นส่วนนี้หรือสกรูที่ยึดติดมีความเสียหาย ก็จะทำให้ไม่สามารถยึดผ้าเบรค อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมได้.
1.5 สายเบรคหรือท่อเบรคมีตะกอน
เบรคแข็งอาจจะเกิดจากตะกอนติดบริเวณสายเบรค รวมไปถึงท่อเบรคที่มีจำนวนมากเกินไป อาการเหล่านี้เกิดจากน้ำมันเบรค ที่คอยทำหน้าที่ดูดซับความชื้น เมื่อเข้าสู่ระบบเบรคจากการสัมผัสปรับอากาศ จึงทำให้เกิดการสะสมของความชื้นจนเกิดตะกอน ทำให้เวลาเหยียบเบรคจะรู้สึกได้เลยว่ามีความแข็งทื่อ จึงเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเบรคแข็ง ในส่วนวิธีการแก้ไขให้เปลี่ยนน้ำมันเบรค ทุกๆ 1 ถึง 2 ปี เพื่อป้องกันการสะสมของตะกอนเพื่อลดปัญหา
2. สรุปปิดท้ายเรื่องสาเหตุเบรคแข็งและวิธีตรวจเช็ค
และทั้งหมดนี้นี่คือสัญญาณบ่งบอกรถมีอาการเบรคแข็ง สาเหตุส่วนใหญ่แล้วก็จะเกิดจากการเสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน หรือระบบกลไกระบบเบรคมีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของปั๊มสูญญากาศ, อุปกรณ์ยึดติดก้ามปู, ท่อสูญญากาศ, หม้อลมเบรค และระบบสายเบรค ล้วนแล้วทุกชิ้นส่วนมีความสำคัญจำเป็นต้องใส่ใจและดูแลรักษา รวมไปถึงวิธีแก้เบรคแข็ง ในส่วนที่เกิดการเสียหายหรือชำรุดมากหรือขาดประสบการณ์ ก็ควรที่จะติดต่อให้ช่างทำการแก้ไข อย่าเสี่ยงกับการขับรถเบรคไม่ดี เพราะอาจจะเกิดความเสียหายกับทรัพย์สินและชีวิตได้
บทความแนะนำ
เมื่อรถเสีย ฉุกเฉิน ต่างจังหวัด 5 ข้อควรปฏิบัติเมื่อรถเสียกลางทาง พร้อมแนะนำวิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้า บทความนี้มีคำตอบ