1. วิธีเช็คลมยางรถยนต์ทำอย่างไร EP. 1
การตรวจเช็คลมยางรถยนต์ในขณะที่ยางยังเย็นอยู่ เพราะวิธีเช็คลมยางรถยนต์ที่ถูกต้องควรจะเช็คในตอนที่ยางรถยนต์ยังมีอุณหภูมิปกติอยู่ หรืออาจจะเพิ่งวิ่งมาไม่เกิน 2 กิโลเมตร หมายความว่า หากคุณวิ่งรถมาจากบ้าน แล้วบ้านอยู่ห่างจากปั๊มน้ำมันมากกว่า 2 กิโลเมตร ควรที่จะจอดพักให้รถมันเย็นก่อน แล้วค่อยตรวจวัด
เพราะการวัดลมในยางและการเติมลมยางเลยไม่สามารถจะทำได้ เพราะการเสียดสีในช่วงที่รถวิ่งมาไกลจะทำให้ล้อรถของคุณร้อนขึ้นเป็นอย่างมาก ทำให้อากาศภายในเกิดการขยายตัว และส่งผลให้แรงดันของล้อเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ ทำให้ต้องพักรถให้เครื่องยนต์และล้อเย็นลงก่อน เพราะจะทำให้วิธีเช็คลมยางรถยนต์มีความถูกต้อง
ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาพักรถนานถึง 2 – 3 ชั่วโมง ซึ่งอาจน้อยกว่านี้หากขับมาบนนถนนที่ไม่ร้อน หรือขับมาในช่วงดึก-เช้า เมื่อรอประมาณสองถึงสามชั่วโมงแล้ว ก็สามารถทำการตรวจวัดได้เลย หากวัดแล้วลมยางต่ำเกินก็สามารถดำเนินการเติมลมยางได้เลย นี่คือการตรวจสอบลมยางที่ถูกต้องและมีมาตรฐานในปัจจุบัน
การเช็คลมยางก็ทำง่ายมาก เพียงแค่คลายฝาเกลียวบนก้านวาล์วของยางรถยนต์ จากนั้นก็หมุนจุกยางล้อออกและวางไว้บริเวณที่ปลอดภัย ป้องกันการสูญหาย พร้อมกับเสียบเกจ์วัดลมยางเข้าไป ถ้าในขณะที่เสียบได้ยินเสียงลมรั่วออกมาก หรือมีอากาศเล็ดลอดออกมาแปลว่าเสียบไม่เข้าที่ ซึ่งไม่ว่าจะเช็คลมยางรถยนต์ ที่ไหนก็เหมือนกัน
ดังนั้นเมื่อมีลมเล็ดลอดออกมาให้คุณดำเนินการเสียบเข้าไปใหม่ จากนั้นให้เชื่อมต่อมาตรวัดค้างไว้สักครู่ก็จะสามารถอ่านค่าแรงดันยางจากหน้าปัดแสดงผลได้ โดยค่าความดันยางก็คือ ตัวเลขสุดท้ายที่ปรากฎนั่นเอง ส่วนเรื่องการตรวจสอบลมยาง ควรตรวจเมื่อไหร่ก็ควรตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอตามที่ศูนย์บริการแนะนำ
หลังจากทราบค่าแรงดันลมยางปัจจุบันแล้ว หากแรงดันลมยางน้อยไป ให้ทำการเติมด้วยเครื่องอัดอากาศที่มาพร้อมกับมาตรวัดแรงดันได้เลย เพื่อเพิ่มระดับความดันที่เหมาะสม ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 28-32 ปอนด์/ตร.นิ้ว (PSI) ซึ่งอาจจะมากน้อยกว่านี้ได้ ตามชนิดของรถเลย ถือเป็นวิธีเช็คลมยางรถยนต์ที่สะดวกสบายในปัจจุบัน
หากไม่มั่นใจก็สามารถอ้างอิงตัวเลขที่เหมาะสมกับรถได้จากตารางแรงดันลมที่แจ้งไว้ในคู่มือการใช้รถได้เลย ซึ่งห้ามเติมลมยางเกินค่า PSI ที่ระบุไว้ที่แก้มยางเป็นอันขาด เพราะนั่นจะเป็นแรงดันลมสูงสุดของยางที่สามารถรับได้ ถือเป็นการตรวจสอบลมยางที่ถูกต้องที่สามารถทำได้อย่างสะดวกสบายในปัจจุบันเลย
2. วิธีเช็คลมยางรถยนต์ทำอย่างไร EP. 2
เติมแรงดันเพิ่มเล็กน้อยถ้ายางยังร้อน คือการเติมลมยางควรเติมตอนที่อุณหภูมิปกติ ถ้าต้องเติมกะทันหัน แล้วคือรถวิ่งมาทางไกลจริงๆ ควรเติมเกินจากค่าความดันที่เหมาะสมไปอีกสัก 2 ปอนด์ เพื่อชดเชยกับความดันในล้อที่จะลดลงเมื่อรถได้พัก ซึ่งเป็นวิธีเช็คลมยางรถยนต์ที่ต้องเพิ่มความระมัดระวังด้วย
ควรจะมีที่วัดลมยางส่วนตัว เพื่อให้คุณเกิดความสบายใจในการวัดลมยางก่อนจะออกจากบ้าน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการเดินทาง ทำให้คุณสามารถขับรถได้อย่างสบายใจ แต่ใครที่ไม่มีก็สามารถค้นหาได้เลยว่าเช็คลมยางรถยนต์ ที่ไหนได้บ้าง เพื่อให้คุณสามารถไปเช็คลมยางได้อย่างมั่นใจ
อุปกรณ์วัดลมยางแบบแท่ง หรือแบบปากกา เป็นอุปกรณ์ที่ทำการตรวจสอบลมยางที่ถูกต้อง มีลักษณะเป็นแท่งชุบโครเมียมรูปทรงกระบอกขนาดพอๆ กับปากกา มีความคงทนและแข็งแรงมาก ปลายข้างหนึ่งมีตุ่มกลม ส่วนปลายอีกด้านหนึ่งจะมีแถบรูปสี่เหลี่ยมสีขาว ทำให้คุณสามารถวัดลมยางได้ด้วยตนเองแบบสบายใจเลย แค่นี้ก็ไม่ต้องห่วงแล้วว่าเช็คลมยางรถยนต์ ที่ไหน
ควรตรวจลมยางทุก 1 ถึง 2 เดือน เพียงเท่านี้ก็คงจะตอบคำถามใครหลายคนได้แล้วว่าการตรวจสอบลมยาง ควรตรวจเมื่อไหร่ ซึ่งความเหมาะสมควรจะมีการตรวจสอบเมื่อครบหนึ่งเดือน หรือสองเดือน หากมีการใช้งานเป็นประจำ เพื่อให้รถของคุณมีความปลอดภัยในการขับขี่และมีความสะดวกสบายในการใช้งาน
อุปกรณ์วัดลมยางแบบดิจิตอล ถือเป็นอุปกรณ์วัดลมยางที่มีความสะดวกสบาย ทำให้คุณมีวิธีเช็คลมยางรถยนต์ที่ง่ายและทันสมัย และไม่ต้องกังวลเลยว่าการตรวจสอบลมยาง ควรตรวจเมื่อไหร่ เพราะคุณสามารถตรวจลมยางได้เองที่บ้านแล้วนั่นเอง
3. สรุปวิธีเช็คลมยางรถยนต์ทำอย่างไร?
วิธีเช็คลมยางรถยนต์มีมากมายหลายวิธี ซึ่งขึ้นกับเหตุปัจจัยต่างๆ ที่ต้องเจอในสถานการณ์นั้น ทำให้คุณต้องเพิ่มความระมัดระวัง และไต่ตรองให้ดีว่าควรใช้วิธีใด เพราะแต่ละสถานการณ์ก็มีวิธีการในการเติมลมยางที่แตกต่างกัน ทำให้คุณควรที่จะคิดและพิจารณาให้ดี เพื่อให้เกิดความปลอดภัยนั่นเอง
สำหรับท่านใดที่รถเกิดปัญหาในการใช้งานทำให้ จนไม่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง สามารถติดต่อเข้ามาที่ FACEBOOK : ซ่อมรถฉุกเฉินนอกสถานที่ และเบอร์โทร : 099-274-6575 เพราะเราจะมีช่างผู้เชี่ยวชาญในการช่วยคุณแก้ไขปัญหาได้อย่างมืออาชีพ ทำให้คุณเกิดความสะดวกสบายในการแก้ปัญหาอย่างแน่นอน
บทความแนะนำ
เช็คอาการ ช่วงล่างรถยนต์พัง สังเกตุจากอะไรบ้าง? และสาเหตุที่ทำให้พังมีอะไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ