1. การปะยางรถยนต์ มีทั้งหมดกี่แบบ EP. 1
การปะยางรถยนต์ในปัจจุบันก็มีอยู่มากมายหลายแบบ สามารถเลือกทำได้ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะว่าการปะยาง จะเลือกปะรูปแบบไหน ก็ต้องดูสถานการณ์ เช่นหากคุณประสบเหตุยางรั่วในขณะที่กำลังเดินทางอยู่บนท้องถนน ก็คงจะต้องเลือกปะยางแบบแทงใยไหมไปก่อน เพื่อให้รถของคุณสามารถใช้งานได้
เพราะเป็นการปะยางเพียงชั่วคราว เพื่อให้รถสามารถกลับมาใช้งานได้ และพาคุณไปถึงที่หมายได้อย่างสบายใจ ส่วนมากการปะยางแบบนี้ จะนิยมใช้ปะยางรถจักรยานยนต์ และส่วนใหญ่จะเป็นการปะยางนอกสถานที่ แบบใช้ชั่วคราว แต่ก็ถือว่าเป็นวิธีปะยางรถยนต์ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะเป็นวิธีเดียวที่จะทำให้คุณสามารถเดินทางต่อไปได้
ที่ใครหลายคนเลือกใช้วิธีการปะยางแบบไหมแทงเพราะว่า สามารถหาซื้ออุปกรณ์ได้ง่าย และส่วนมากจะมีการจำหน่ายเป็นชุดแบบสำเร็จรูปมาเลย ซึ่งชุดสำเร็จรูปดังกล่าวจะมีอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องใช้งานมาให้ครบ ทำให้สามารถทำได้เอง และใช้เวลาไม่นาน นอกจากนั้นราคาปะยางรถยนต์แบบนี้ก็ถูกมากด้วย
และวิธีการปะยางแบบนี้ยังไม่จำเป็นต้องถอดล้อออกมาเหมือนการปะยางด้วยวิธีอื่นถือเป็นการปะยางรถยนต์นอกสถานที่แบบสะดวกสบายและได้รับความนิยมในปัจจุบันเลยก็ว่าได้ เพราะขั้นตอนการปะยางแบบนี้ก็ง่ายแสนง่าย และอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการปะยางก็มีราคาถูก แต่เป็นการปะยางเพียงชั่วคราวเท่านั้น
ทำให้หลายคนก็ยังมีคำถามในใจว่าปะยางรถยนต์ แบบไหนดี เพราะว่าในปัจจุบันมีวิธีในการปะยางมากมายหลายแบบ แต่สำหรับแบบแทงไหม จะดีมากสำหรับการปะยางแบบชั่วคราว เนื่องจากเหตุการณ์ยางรั่วระหว่างการเดินทาง ซึ่งมีวิธีการและขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อน ไม่ยุ่งยาก ทำให้ใครๆ ก็สามารถทำได้ด้วยตนเอง
โดยขั้นตอนการปะยางแบบแทงไหมนั้น จะต้องดำเนินการดึงสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ที่ทิ่มเนื้อยางออกมาก่อน จากนั้นให้ใช้อุปกรณ์ที่เป็นแท่งยาวมาแทงเพื่อขยายรูให้กว้างขึ้น แล้วนำใยไหมมาแทงเข้าไปอีกครั้งเพื่ออุดรูรั่ว แล้วใช้กรรไกรตัดส่วนที่เกินออกมา จึงเป็นการปะยางรถยนต์แบบง่ายๆ ที่ใครๆ ก็สามารถทำได้
แต่วิธีนี้จะเหมาะสำหรับการปะยางแบบฉุกเฉิน ใช้เพียงชั่วคราวเท่านั้น เพราะมันก็ยังมีโอกาสที่ลมยางรั่วซึมออกมาได้ ทำให้คุณควรจะนำไปปะยางด้วยวิธีอื่นให้เรียบร้อย เมื่อขับรถถึงบ้านแล้ว เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการขับขี่ และทำให้คุณเกิดความสบายใจด้วย ส่วนเรื่องราคาปะยางรถยนต์ก็สามารถสอบถามช่างได้เลย
2. การ ปะยางรถยนต์ มีทั้งหมดกี่แบบ EP. 2
การปะยางแบบสตีมร้อนถือเป็นการปะยางรถยนต์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน เพราะทำให้สามารถใช้ยางได้จนกว่าตัวยางจะหมดสภาพการใช้งานเลย แต่มันก็เป็นวิธีที่จำเป็นต้องอาศัยช่างที่มีประสบการณ์ในการปะยางเพื่อความปลอดภัย เพราะว่าเป็นวิธีที่ต้องถอดยางออกมาเสียก่อน
เนื่องจากการอุดรอยรั่วด้านในของตัวยาง จะต้องใช้แผ่นยางขนาดเล็กมาแปะไว้ที่รอยรั่ว แล้วจึงจะใช้เครื่องกดความร้อนเพื่อสมานเนื้อยางให้กลายเป็นเนื้อเดียวกัน ทำให้เป็นการปะยางที่มีความทนทานมากขึ้น แต่ถ้าต้องการจะปะยางรถยนต์นอกสถานที่ควรจะเรียกช่างไปดำเนินการซ่อมแซมให้เพื่อความทนทาน
ซึ่งข้อเสียของการปะยางด้วยวิธีสตีมร้อนก็คือมันจะส่งผลให้เนื้อยางบริเวณนั้นแข็ง และจะได้รับความเสียหายในอนาคต เพราะจะทำให้เกิดโอกาสบวมได้ในอนาคต แต่ก็ยังคงเป็นหนึ่งในวิธีที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ส่วนเรื่องของราคาปะยางรถยนต์ก็ขึ้นอยู่กับช่างผู้ให้บริการเลย
การปะยางแบบสตีมเย็นถือเป็นการปะยางรถยนต์นอกสถานที่อีกแบบที่ได้รับความนิยม แต่ต้องเรียกช่างไปปะยางให้ ซึ่งขั้นตอนของมันก็คล้ายกับการปะยางแบบสตีมร้อนเลย เพราะมันจะอุดรอยรั่วจากด้านในเช่นเดียวกัน แต่มันจะเริ่มต้นด้วยการขัดผิวยางรอบรูรั่วให้สาก แล้วจึงจะทากาวแบบพิเศษลงไป แล้วแปะแผ่นยางขนาดเล็กเพื่ออุดรอยรั่ว ถือเป็นคำตอบที่ดีของคำถามที่ว่าปะยางรถยนต์ แบบไหนดีเลย
เมื่อแปะแผ่นยางขนาดเล็กเพื่ออุดรอยรั่วแล้วจะมีการทุบให้แน่น จะช่วยสมานรอยรั่วไม่ให้ลมยางซึมออกมาได้ ซึ่งวิธีปะยางรถยนต์แบบนี้ให้ความทนทานไม่ต่างกับการสตีมร้อน และสามารถใช้ยางจนกว่าจะหมดสภาพ ที่สำคัญไม่ส่งผลต่อโครงสร้างยางอีกด้วย จึงเป็นคำตอบที่ดีของคำถามที่ว่าปะยางรถยนต์ แบบไหนดีนั่นเอง
3. สรุปปะยางรถยนต์แบบไหนดี?
การปะยางรถยนต์ก็ดีเหมือนกันทุกแบบ แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์ด้วย เพราะว่าบางทีรถไปเสียนอกสถานที่ การปะยางด้วยวิธีง่ายๆ จึงเป็นอะไรที่ดีที่สุด แต่ถ้าถึงบ้านแล้ว ก็ควรจะมองหาช่างที่มีความสามารถปะยางให้เรียบร้อย และปะยางให้ดี เพื่อให้คุณสามารถใช้งานรถได้อย่างสบายใจนั่นเอง
สำหรับท่านใดที่รถเกิดปัญหาในการใช้งานทำให้ จนไม่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง สามารถติดต่อเข้ามาที่ FACEBOOK : ซ่อมรถฉุกเฉินนอกสถานที่ และเบอร์โทร : 099-274-6575 เพราะเราจะมีช่างผู้เชี่ยวชาญในการช่วยคุณแก้ไขปัญหาได้อย่างมืออาชีพ ทำให้คุณเกิดความสะดวกสบายในการแก้ปัญหาอย่างแน่นอน
บทความแนะนำ
เผยสาเหตุ รถควันดำเกิดจากอะไร ? และมีวิธีแก้อาการควันดำอย่างไร? บทความนี้มีคำตอบ